บันทึกอนุทินครั้งที่ 3
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 เวลาเรียน
08.30น.- 12.20
เวลาเข้าสอน 08.30น.
เวลาเข้าเรียน
08.30น. เวลาออกจากห้องเรียน 12.15น.
ความรู้ที่ได้ในวันนี้..
- ขณะที่ทำกิจวัตรประจำวันสามารถสอดแทรกคณิตศาสตร์ให้กับเด็กได้..บางทีอาจเกิดเหตุการณ์กะทันหันก็อาจจะแทรกเรื่องอื่นๆมาเพิ่มเติมนอกเหนือที่เตรียมไว้เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในตอนนั้นๆ
1. อาจารย์แจกกระดาษโดยให้หยิบไว้1แผ่นแล้วส่งต่อ
และให้พับเป็น 8 ช่องและอาจารย์ได้เชื่อมโยงการสอนไปเรื่องอื่นๆที่จะเกี่ยวกับเรื่องรอบๆตัว
เทคนิคและการสอนของอาจารย์
- เป็นการสอดแทรกการสอนคณิตศาสตร์เพราะสามารถนำไปใช้กับเด็กเรื่องของจำนวน
และการนับได้ เช่นการจับคู่กระดาษกับตนเอง 1ต่อ1 หรือให้เด็กนับช่องที่ตนเองพับ เป็นต้น
- ขณะที่ทำกิจวัตรประจำวันสามารถสอดแทรกคณิตศาสตร์ให้กับเด็กได้..บางทีอาจเกิดเหตุการณ์กะทันหันก็อาจจะแทรกเรื่องอื่นๆมาเพิ่มเติมนอกเหนือที่เตรียมไว้เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในตอนนั้นๆ
-
การจะสอนเรื่องต่างๆให้กับเด็กจะต้องมีเครื่องมือ เช่น ของจริงหรือสิ่งจำลอง
2. อาจารย์ให้ทำหนังสือเล่มเล็กแล้วเขียนสาระทางคณิตศาสตร์ว่าในชีวิตประจำวันควรรู้เรื่องอะไรบ้าง?แล้วเพื่อนในห้องร่วมกันอภิปรายว่ามีอันไหนไม่เหมือนกับอาจารย์บ้าง
เทคนิคและการสอนของอาจารย์
สิ่งที่ฉันรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ |
-
การจะสอนเด็กควรต้องรับฟังความคิดเห็นของเด็กและอย่าไปลดความมั่นใจหรือไปขัดเมื่อเด็กแสดงความคิดเห็นเพราะจะทำให้เด็กบั่นทอนและไม่กล้าแสดงความคิดเห็น
- ต้องฟังเด็กให้เด็กระดมความคิดจากประสบการณ์เดิมแล้วค่อยมาอธิบายสิ่งที่ถูกต้องทีหลังเพื่อเพิ่มประสบการณ์ใหม่ๆให้กับเขา (เหมือนที่อาจารย์ยังไม่บอกว่าความคิดใครถูกผิด แต่ยอมรับฟังความคิดเห็นของนักศึกษาทุกคนก่อน)
- ต้องฟังเด็กให้เด็กระดมความคิดจากประสบการณ์เดิมแล้วค่อยมาอธิบายสิ่งที่ถูกต้องทีหลังเพื่อเพิ่มประสบการณ์ใหม่ๆให้กับเขา (เหมือนที่อาจารย์ยังไม่บอกว่าความคิดใครถูกผิด แต่ยอมรับฟังความคิดเห็นของนักศึกษาทุกคนก่อน)
3. อาจารย์สอนร้องเพลง
กินอาหาร..ของดีมีทั่ว! หนูเตรียมตัว! จะไปโรงเรียน..
สวัสดี...คุณแม่ คุณพ่อ ไม่รีรอ รีบไปโรงเรียน..
หลั่นล้า หลั่นลา หลั่นหล่า หลั่น ลันลา... หลั่นลา หลั่นล้า..
เพลงสวัสดีคุณครู
สวัสดีคุณครูที่รัก หนูจะ.ตั้งใจอ่านเขียน
ยามเช้าเรามาโรงเรียน…(ซ้ำ*) หนูจะพากเพียรขยันเรียนเอย
เพลงหนึ่งปีมีสิบสองเดือน
หนึ่งปีนั้นมีสิบสองเดือน… อย่าลืมเลือน..จำไว้ให้มั่น!
หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวันๆ อาทิตย์! จันทร์. อังคาร. พุธ.
พฤหัส ศุกร์ เสาร์ หลั่นลา..ลันลา…
เทคนิคและการสอนของอาจารย์
-จากเพลงสวัสดียามเช้าทำให้เด็กได้รู้จักเวลาและเรียงลำดับเหตุการณ์ซึ่งเพลงเป็นสื่อคณิตศาตร์ตัวหนึ่งที่ใช้ในการสอนเด็กจากเพลงที่มีอยู่แล้วก็สามารถดัดแปลงเนื้อหาให้สนุกและตลกหรือเกี่ยวกับเรื่องต่างๆที่จะสอนเด็กต่อไปได้
4. อาจารย์แจกกระดาษแล้วเขียนเวลาเรียนว่าตนเองมาถึงมหาวิทยาลัยกี่โมงหลังจากนั้นอาจารย์ถามว่า? (ใครมาเรียนก่อนโมงให้อยู่ทางขวา
ใครมาหลัง8โมงให้อยู่ทางซ้าย และใครมาถึง8โมงพอดี..ให้มาอยู่ตรงกลาง)
เทคนิคและการสอนของอาจารย์เรื่องตัวเลขและการตั้งเกณฑ์
- มีเวลา8โมงที่เป็นเกณฑ์ในการแบ่งในครั้งนี้สามารถสอนโยงไปสอนเรื่องเวลาได้
- สอนเรื่องเวลาหรือการเดินของเข็มนาฬิกาได้
อาจจะให้เด็กวาดรูปนาฬิกา
- สอนเรื่องลำดับเหตุการณ์ก่อน-หลังได้
- ให้เด็กนับจำนวนเพื่อนที่มาก่อน
พอดี หรือมาหลัง 8 โมงได้และเขียนตัวเลขกำกับแทนจำนวนคน
-
ให้เด็กได้เรียนรู้เครื่องหมายแทนด้วยสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์และสอนการเปรียบเทียบได้
5. อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม4กลุ่ม กลุ่มละ 5 คน และแจกกระดาษให้กลุ่มละ1แผ่น
และสมาชิกทุกคนในกลุ่มจะต้องหยิบสิ่งของอะไรก็ได้มาคนละ1 ชิ้น
-สิ่งของที่กลุ่มดิฉันหยิบขึ้นมา
คือ ปากกา ไม้บรรทัด ขนม ขวดน้ำ และยางลบ
กำหนดเกณฑ์
คือรูปทรงที่เป็นทรงกระบอก กับรูปทรงที่ไม่ได้เป็นทรงกระบอก
ที่เป็นทรงกระบอก : ขวดน้ำ
ปากกา
ที่ไม่ได้เป็นทรงกระบอก : ขนม
ไม้บรรทัด ยางลบ
เทคนิคและการสอนของอาจารย์เรื่องการตั้งเกณฑ์
-เทคนิคนี้เริ่มแต่เรื่องของจำนวนในการแบ่งกลุ่มที่สามรถไปใช้กับเด็กได้รวมไปถึงการแบ่งแยกเกณฑ์ของสิ่งของ
- การให้เด็กทำเองทำให้เด็กเห็นเป็นรูปธรรมเด็กจะมีกระบวนการและทักษะทางความคิดและด้านอื่นๆทำให้ได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5ในการเรียนรู้
6. เรียนเนื้อหาเรื่องขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
มี
8 เรื่องด้วยกันคือ
1. การนับ
เป็นเรื่องเกี่ยวกบตัวเลขอับดับแรกที่เด็กจะต้องรู้จักเป็นการนับอย่างมีความหมาย
เช่นการนับเลข1-10หรือมากกว่านั้น
2. ตัวเลข
เป็นการให้เด็กได้รู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวันให้เด็กเล่นเกี่ยวกับตัวเลข
คิดและนับและคิดเลขเองโดยครูเป็นผู้วางแผนกิจกรรมอาจมีเรื่องของการเปรียบเทียบจำนวนด้วยหรือใช้เพลงที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์สอนเด็ก เช่น 1 2 3 4 5 จับปูมามาได้ห้าตัว.. 6 7 8 9 10 ปูมันหนีบ! ฉันต้องส่ายหัว.. กลัวฉันกลัว ฉันกลัว ปูมันหนีบฉันที่หัวแม่มือ.. ๆ
3.
การจับคู่ เป็นการฝึกฝนให้เด็กสังเกตลักษณะต่างๆและจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน
4.
การจัดประเภท
เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักประเภทลักษณะต่างๆและคิดแยกแยะว่ามีความแตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไร
(โดยจะต้องมีเกณฑ์ให้เด็ก)
5.
การเปรียบเทียบ
เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่าง2 สิ่งหรือมากกว่ารู้จักใช้คำศัพท์
เช่นมากกว่า น้อยกว่า หนักกว่า
6. การจัดลำดับ
เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่งๆตามกฎ
เช่นจัดบล็อก 5 แท่ง ที่มีความยาวต่างกันและให้เรียงลำดับจากสูงไปต่ำ เป็นต้น
7. รูปทรงและเนื้อที่
ครูจะต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กเรียนรู้กับรูปทรงเรขาคณิตและยังต้องรู้จักความตื้นลึก
หนาบางของรูปทรงด้วย
8. การวัด
มักจะให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเองรู้จักความยาวและระยะทางรู้จักการประมาณอย่างคร่าวๆซึ่งก่อนที่เด็กจะรู้จักการวัดจะต้องผ่านการฝึกฝนเรื่องการเปรียบเทียบและเรียงลำดับมาก่อน
สิ่งที่ได้จากการเรียนและการนำไปปรับใช้
1.
สามารถนำเทคนิคการสอนในหัวข้อต่างๆไปใช้กับเด็กได้จริง
2.
ได้รู้เกี่ยวกับสาระทางคณิตศาตร์ว่าควรสอนอะไรให้กับเด็กบ้าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น