... Wellcome To blogspot Arisara Phusit...

วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่6 ทบทวนสาระคณิตศาสตร์

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 12 ธันวาคม พ.. 2556  เวลาเรียน 08.30.- 12.20
เวลาเข้าสอน 08.30.     เวลาเข้าเรียน 08.30.   เวลาออกจากห้องเรียน 12.15.
ความรู้ที่ได้ในวันนี้..
-อาจารย์ได้กล่าวว่านักศึกษาควรมีทักษะต่างๆในการเชื่อมโยงความคิดและนำเสนอควรมีทักษะต่างๆในการเชื่อมโยงความคิดและนำเสนอออกมาตาม TQF หรือ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ นั่นเองซึ่งมีอยู่ 5 ด้าน ที่นักศึกษาจะต้องบรรลุตามวัตถุประสงค์
1.ด้านคุณธรรมจริยธรรม
2.ด้านความรู้
3.ด้านทักษะทางปัญญา
4.ด้านความสัมพันธ์ต่อผู้อื่นและความรับผิดชอบ
5.ด้านทักษะการวิเคราะห์และรอบรู้การใช้เทคโนโลยีต่างๆ
-สาระทางคณิตศาสตร์สาระที่เรื่องการวัด หาค่าและปริมาณ
ตัวอย่างที่สามารถสอนให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ในกิจวัตรประจำวันได้
ใบลงเวลามาเรียนเหมาะกับอนุบาล3

 ใบลงเวลามาเรียนแบบนี้อาจจะช้าเพราะเด็กต้องรอเขียนต่อกัน
ถ้าใช้กับเด็กเล็กที่เขียนยังไม่ได้ อาจต้องมีสื่อเพื่อให้เด็กเห็นเป็นรูปธรรมสามารถนำปฎิทินเก่าๆมาทำนาฬิกาของเล่น มีเข็ม ตามหน้าปฏิทินตามเวลาและเขียนตัวเลขกำกับไว้ และให้เด็กได้ดูเวลาจริงมาเทียบกับปฏิทินเวลาที่มีอยู่
มีปฏิทินให้เด็กได้เขียนตัวเลขหรือติดสติกเกอร์นับวันในแต่ละวัน
-สาระคณิตศาสตร์สาระที่3 เรื่องรูปทรงและเรขาคณิต
อาจารย์แจกอุปกรณ์ ไม้ลูกชิ้นและดินน้ำมันคนละ1ก้อนให้ทำรูปทรงต่างๆตามคำสั่งเป็นกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์บูรณาการเข้ากับวิชาคณิตศาสตร์ซึ่งสามารถนำไปใช้กับเด็กปฐมวัยได้


ประโยชน์ที่ได้รับและเทคนิคการสอน
-   ให้เด็กทำบ่อยๆกับสิ่งที่เห็นจริงและจับต้องได้
-   ค่อยเพิ่มเติมสิ่งใหม่ๆอยู่เสมอเริ่มให้เด็กมีประสบการณ์จากสิ่งง่ายๆไปยาก
-    พัฒนาความรู้เดิมกับสิ่งใหม่ๆที่เด็กเรียนรู้ให้เชื่อมโยงกัน
-    สิ่งที่ให้เด็กเรียนรู้ควรเป็นสิ่งที่เด็กได้เรียนรู้โดยใช้ประสาทสัมผัสเช่นประยุกต์ใช้กับกิจกรรมศิลปะ ให้เด็กได้เห็นเป็นรูปร่างรูปทรงโดยผลิตสื่อ
        ประเมินหลังเรียน
- ประเมินตนเอง  สนุกสนใจกับกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำซึ่งสามรถนำไปใช้กับเด็กได้ในชีวิตจริงและเกิดไอเดียใหม่ๆทำให้คิดริเริ่มสร้างสรรค์มองการไกลกับสิ่งที่ไม่เคยคิดว่าจะนำมาใช้ได้ สามารถต่อยอดและคิดที่จะนำวัสดุเหลือใช้มาผลิตสื่อ
-  ประเมินเพื่อน   เพื่อนๆให้ความร่วมมือสามารถคิดทำรูปทรงต่างๆได้บางคนก็ทำแตกต่างทำให้เห็นมิติใหม่ๆ
-  ประเมินอาจารย์  อาจารย์มีการเตรียมวัสดุอุปกรณ์เตรียมเนื้อหาที่จะนำมาสอน มีการอธิบาย และยกตัวอย่างให้เห็นได้ชัดเจนได้นำสื่อต่างๆมาให้ดูและบอกเทคนิคเพิ่มเติมซึ่งสื่อ1ชิ้นควรสามารถสอนให้ได้หลายๆอย่าง


วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 5 วันพ่อแห่งชาติ

 บันทึกอนุทินครั้งที่ 5
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 4 ธันวาคม พ.. 2556  เวลาเรียน 08.30.- 12.20
เวลาเข้าสอน -     เวลาเข้าเรียน -   เวลาออกจากห้องเรียน -

หมายเหตุ:ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ขอพระองค์ทรงพระเจริญ :)

วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่4 สาระทางคณิตศาสตร์


บันทึกอนุทินครั้งที่ 4
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย   
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  28 พฤศจิกายน พ.. 2556  เวลาเรียน 08.30.- 12.20
เวลาเข้าสอน 08.30.     เวลาเข้าเรียน 08.35.   เวลาออกจากห้องเรียน 12.15.

ความรู้ที่ได้ในวันนี้..
เริ่มต้นชั่วโมงอาจารย์พูดแนะนำเรื่องการทำบล็อกและถามถึงประโยชน์ของการทำบล็อกเพื่อนๆได้ช่วยกันตอบและได้ข้อสรุปร่วมกันดังนี้
1.ประหยัดค่าใช้จ่ายดีกว่าพิมพ์ออกมาเป็นกระดาษ  
2.ได้ดูข้อมูลที่หลากหลายและอัพเดทอยู่ตลอดเวลา
3.สามารถเผยแพร่ความรู้ให้คนอื่นได้                                                                
4.สามารถเปิดดูได้ไม่สูญหายเหมือนการจด
5.สามารถประเมินตนเองได้เรื่องการใช้เทคโนโลยี
        1.อาจารย์แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น โดยให้วาดรูปสัตว์ที่มีขามา 1 รูป
ดิฉันวาดรูปแกะ ซึ่งแกะเป็นสัตว์มี 4 เท้า
-อาจารย์ได้ถามว่าเราสามารถเอาอะไรที่นับได้มาใส่ในภาพภาพสัตว์เราได้และใส่ส่วนไหนของสัตว์ได้บ้าง? เพื่อนๆในห้องก็ต่างตอบกันว่า ลูกตา หู ของสัตว์ ดิฉันได้ตอบว่ารองเท้า ซึ่งตรงกับความคิดอาจารย์ เพราะเราสามารถทำให้เด็กรู้เรื่องของจำนวน การจับคู่ความสัมพันธ์ของเท้ากับรองเท้า เช่น 2ข้าง เป็น 1คู่ ก็จะทำให้เด็กเรียนรู้คำศัพท์ทางคิดศาสตร์เพิ่มขึ้นด้วย และทำให้เด็กได้ทำศิลปะสร้างสรรค์และเรียนรู้เรื่องคณิตศาสตร์โดยให้ตัดกระดาษมาแปะเป็นรองเท้า เด็กก็สามารถแยกได้เป็นคู่ๆ และได้เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสด้วยการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง  
         2.เนื้อหาเรื่องสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์                                         
เป็นหลักการที่ต้องปลูกฝังให้แก่เด็ก ผู้สอนควรศึกษาสาระสำคัญจากคณิตศาสตร์ของแต่ละสาระในกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัยและเพื่อให้เข้าใจตรงกันจึงได้รวบรวมสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ระดับปฐมวัยไว้ ดังนี้
  1.จำนวนและการดำเนินการ คือเด็กสามารถนับแล้วบอกค่าได้ คือ จำนวนที่เพิ่มขึ้นตามลำดับ 1 2 3 4 5 6 7 8 9  เด็กจะได้รู้จักจำนวนที่เพิ่มทีละหนึ่ง วิธีการเรียนรู้ของเด็ก เด็กจะต้องลงมือกระทำด้วยตนเองใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 (ไม่ควรเร่งให้เด็กเขียนหรือคัดแต่ควรเลือกให้เด็กตัดสินใจด้วยตนเอง) เช่นให้เด็กรู้จักเขียนตัวเลขจากเวลาทำกิจวัตรประจำวันเมื่อเด็กมาถึงโรงเรียนก็ถามเด็กว่ามากี่โมงและสอนเด็กให้เขียนเวลาบันทึกตอนมา.. ถ้าเป็นเด็กเล็กๆครูควรเขียนตัวเลขไว้เป็นลำดับตามจำนวนเด็ก เมื่อเด็กมาถึงห้องก็ให้เขียนชื่อตนเองหรือสัญลักษณ์ลงตามลำดับลงไป แค่นี้ก็เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กมีประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ซึ่งเป็นการทำให้เด็กมีการวิเคราะห์เริ่มเกิดการเทียบเคียงและพัฒนาสัญลักษณ์ที่เขียนแทนแสดงจำนวน คือเลขโดด
               ความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้
·ได้รู้สาระทางคณิตศาสตร์สาระที่1เรื่องของจำนวน รู้ว่าเด็กควรทราบเรื่องจำนวนนับก่อนมีกระบวนการเรียนรู้ตัวเลขง่ายๆ1-10 ถึงจะข้ามไปเรื่องยากๆต่อไปได้
·สามารถทำสื่อคณิตศาสตร์หรือเป็นเกมการจับคู่ตัวเลขเพื่อให้เด็กได้เห็นและรู้จักตัวเลขง่ายๆก่อนที่จะเขียน
·สามารถจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้จากเวลาที่เด็กได้ทำกิจวัตรประจำวันต่างๆของเด็กได้
              ประเมินหลังเรียน
ประเมินตนเอง : วันนี้เข้าห้องเรียนสาย5นาทีค่ะ เวลาอยู่ในห้องเรียนก็พยายามที่จะตอบคำถามของอาจารย์และตั้งใจทำกิจกรรมกลุ่มที่อาจารย์ให้คิดร่วมกับเพื่อนแต่คิดว่าตนเองคิดซับซ้อนไปหน่อยอาจจะใช้กับเด็กไม่เหมาะเท่าไหร่ควรจะต้องปรับหรือต้องศึกษาเพิ่มและนำคำแนะนำเพิ่มเติมของอาจารย์มาใช้
ประเมินเพื่อน  : เพื่อนมีความตั้งใจที่จะตอบคำถามและต่างหากิจกรรมในสาระที่1มาแลกเปลี่ยนทำให้ได้ความรู้จากเพื่อนเพิ่มขึ้นด้วย
ประเมินอาจารย์  : ชอบค่ะ ที่อาจารย์สามารถสอนทุกสิ่งทุกอย่างโดยโยงให้สัมพันธ์กับการสอนคณิตศาสตร์ให้กับเด็กทั้งหมด และอาจารย์ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานที่เราคิดเพื่อจะได้ประโยชน์กับเด็กมากที่สุดโดยแจงให้เห็นถึงข้อเท็จจริงและเป็นรูปธรรมขึ้น จากการสอนของอาจารย์ก็มีความยาวนานบ้างและหลากหลายกิจกรรมแต่ที่ชอบที่สุดคือการที่อาจารย์ให้เพลงที่สามรถนำไปใช้กับเด็กได้และอาจารย์ได้ร้องเพลงให้ฟัง J




วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สรุปบทความทางคณิตศาสตร์


คลิกดูบทความเจาะลึก....เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์ได้ที่นี่

         สรุปเนื้อหาจากบทความ
    จากเนื้อหาของบทความได้กล่าวว่าคณิตศาสตร์มีความสำคัญต่อชีวิตของคนเราอย่างมากเพราะทำให้เป็นคนที่มีความคิดที่เป็นแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาและรู้จักใช้ความคิดได้อย่างรอบคอบดังนั้นเด็กปฐมวัยจึงเป็นวัยที่ควรเริ่มเรียนรู้พื้นฐานของคณิตศาสตร์เพื่อให้เด็กได้รู้จักสังเกตและมีทักษะในการดำเนินชีวิตในภายหน้า จึงทำให้สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)  ได้พัฒนามาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและกำหนดสาระขึ้นว่า
เด็กควรจะต้องเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ไว้ 6 สาระ ด้วยกันคือ
1.จำนวนและการดำเนินการ เช่น การรวมกลุ่ม แยกกลุ่ม 
2. การวัด  เช่น ความยาว  น้ำหนัก  
3.เรขาคณิต เช่น ตำแหน่ง   รูปเรขาคณิตต่างๆ
4.พีชคณิต  เช่น รู้จักการการแก้ปัญหาเชื่อมโยงแบบรูปและความสัมพันธ์  
5.การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น เช่น การเก็บรวบรวมข้อมูลและนำเสนอในรูปแบบของกราฟ แผนภูมิ ผังความคิด เป็นต้น
6.ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์  การคิดแก้ปัญหา การให้เหตุผล  
ปัจจัยสำคัญการที่เด็กจะเกิดการเรียนรู้ที่ดี ได้แก่
      -ผู้บริหาร สามารถจัดสรรงบประมาณในการเลือกสรรสื่อตามความต้องการของผู้เรียนและจัดการอบรมครูเรื่องการส่งเสริมความสามารถของเด็ก
     -ครูผู้สอน ครูผู้สอนควรพัฒนาความสามารถของตนเองอยู่เรื่อยๆ และจะต้องเข้าใจมาตรฐานการเรียนรู้และศึกษาในเรื่องของหลักสูตรอย่างถ่องแท้
     -เด็ก ควรมีความสนใจและรู้จักซักถาม ใฝ่รู้ใฝ่เรียน
     -สภาพแวดล้อม จะต้องเอื้ออำนวยต่อการจัดการศึกษา
     -ผู้ปกครอง จะต้องให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียนและใส่ใจตัวเด็ก
         ความรู้ที่ได้รับจากบทความและการนำไปประยุกต์ใช้
1. ทำให้รู้สาระทางคณิตศาสตร์ว่ามี6สาระและควรจะสอนอะไรสำคัญๆให้กับเด็กบ้าง
2. นำมาประยุกต์ใช้กับการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์เพื่อจะได้ผลิตสื่อให้เหมาะสมตรงกับสิ่งที่เด็กควรจะต้องเรียนรู้
3. ได้รู้ว่าในการจัดการเรียนรู้ทุกอย่างจะต้องสามารถให้เด็กได้นำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริงจึงควรจัดกิจกรรมให้เหมาะสมให้เด็กรู้จักเรื่องรอบๆตัว เช่น สมาชิกในครอบครัวหรือความสัมพันธ์ในครอบครัวที่เป็นลำดับ รู้จักเรื่องจำนวนเงินการเก็บออมการจ่ายซื้อของ ซึ่งจะทำให้เด็กเป็นคนรู้จักคุณค่าของเงินได้ตั้งแต่เล็กๆ
4. สามารถประยุกต์โดยแต่งเพลงที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์เพื่อจะได้ใช้กับเด็กได้ เช่น ใช้เพลงสอนเด็กในเรื่องของจำนวน ตัวอย่าง
เพลงนิ้วมือ
นิ้วๆ นิ้ว  นิ้วมือมีอยู่สิบนิ้ว..ข้างซ้ายหนูมีห้านิ้ว ข้างขวาหนูก็มีห้านิ้ว
ไหนทุกคนลองนับดีๆ 1 2 3 4...5 6 7 8 / 9 10! พอดี..
                                               (ทำนองคล้ายเพลงช้าง)โดย อริสรา ภูษิต

วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สรุปโทรทัศน์ครู (งานสัปดาห์ที่3)


        เนื้อหาของวีดีโอ เรื่องเรียนรู้ผ่านการเล่น : พัฒนาการทางคณิตศาสตร์
เป็นเรื่องของการใช้หลักสูตรการปรับพื้นฐานสำหรับเด็กที่แคว้นเวลส์ เขาเริ่มใช้หลักสูตรการเรียนรู้ผ่านการเล่นให้เด็กวัย 3-7 ปี ในปี 2551
-เขาจะเน้นการปูพื้นฐานความพร้อมให้กับเด็กก่อนและให้เด็กได้ทำกิจกรรมกับเพื่อนเป็นกลุ่มตามความถนัดและความสนใจของตนเอง
-เปิดโอกาสให้เด็กได้ทำกิจกรรมนอกห้องเรียนเพื่อจะได้เห็นศักยภาพของเด็กแต่ละคนได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
-ใช้สื่อที่หลากหลายรูปแบบกับเด็ก เช่น ตุ๊กตาหมี, ดินสอยักษ์ เพื่อใช้เป็นสื่อในการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ เช่น การประมาณค่า และการแก้ปัญหาเป็นต้น
-มีการประสานงานและทำความเข้าใจกับผู้ปกครองในเรื่องของการเรียนการสอน
        สรุปและทำความเข้าใจจากความรู้ที่ได้รับจากการชมวีดีโอ
จากวีดีโอเขาได้แบ่งพื้นที่ห้องเรียนออกเป็น2ส่วน
-   1)ห้องเรียนที่มีกระดานอิเล็กทรอนิกส์
-   2)ห้องกิจกรรมที่สามารถเสียงดังได้และยังเชื่อมไปสู่สถานที่ภายนอก
1.กิจกรรมการเล่นปาเป้า เป็นการให้เด็กได้บอกความต้องการของตนเองจากสิ่งที่เด็กเห็นว่าเด็กต้องการที่จะปาเลขอะไร
2.กิจกรรมโดมิโน เป็นกิจกรรมที่ให้เด็กจับคู่ตัวเลขและส่งเสริมเรื่อการช่วยเหลือกันซึ่งและกัน
3. กิจกรรมหาเลขหมายที่ถูกต้อง โดยมีตัวเลขกำหนดให้แล้วให้เด็กหาเลขที่เหมือนกันทำให้เด็กเกิดทักษะในการแก้ปัญหาและวิเคราะปัญหา
4.กิจกรรมการเขียนเลขโดยใช้ประสาทสัมผัส คือจะมีกระบะใส่ทรายเกลือหรือแป้งผสมน้ำและมีตัวเลขให้เด็กดูโดยใช้คำถามว่านี่คือเลขอะไรเมื่อเด็กเห็นเด็กก็สามารถเขียนได้โดยให้เด็กเขียนลงไปในกระบะดีกว่าการใช้เพียงดินสอกับกระดาษเท่านั้น
5.กิจกรรมการคัดแยกแยะ เด็กจะได้แยกสีจากของเล่นที่รวมกันอยู่ในกล่องจำนวนมากๆหลายสี ทำให้เด็กบางคนก็เริ่มที่จะนับว่ามีกี่ตัว
6.กิจกรรมการตวง-ปริมาณ คือให้เด็กตักน้ำใส่ถังเด็กจะได้นับว่ากว่าน้ำถังใหญ่จะเต็มเด็กได้ตวงไปกี่แก้วแล้ว
7.กิจกรรมสอนเรื่องตำแหน่ง คือ สอนให้เด็กเรียนรู้การใช้คำศัพท์และสามรถบอกตำแหน่งได้โดยมีเครื่องมือที่ใช้เช่นตุ๊กตา เมื่อให้คำว่า ON เด็กก็จะอ่านและนำตุ๊กตาไปวางบนสิ่งกีดขวางได้ถูกต้อง
8.กิจกรรมบทบาทสมมุติ คือสร้างร้านผลไม้จำลอง ให้เด็กได้เล่นซื้อขายสินค้ากัน
9.กิจกรรมฝึกทักษะภาษา  ให้เด็กได้รู้จักเรื่องของเวลาโดยให้อีกคนถือนาฬิกาและเพื่อนที่เหลือถามว่ากี่โมงแล้ว เมื่อเพื่อนขานรับ ก็จะวิ่งไล่จับกันทำให้เด็กได้ทักษะทางความคิดได้ความสนุกสนานและร่างกายที่แข็งแรง
ความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้
· ทำให้รู้ว่าไม่ควรที่จะเร่งให้เด็กเขียนก่อน แต่ควรให้เขาได้ทำกิจกรรมและค้นคว้าเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง
· ทำให้รู้ว่าถ้าเด็กไม่มีความพร้อมการเรียนรู้ของเด็กก็จะชะงักและไม่เป็นลำดับขั้น
·ได้รู้ว่าการเรียนรู้ของเด็กจะประสบความสำเร็จได้ดี ส่วนหนึ่งครูจะต้องวางแผนการจัดกิจกรรมที่ดีและควรเป็นสิ่งที่เด็กสนใจ
· สามารถนำกิจกรรมเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้กับเด็กได้
· ทำให้รู้ว่าควรจัดกิจกรรมแบบอิสระให้เด็กไม่ควรให้เด็กอยู่แต่ในห้องเรียน
·ปรับใช้ได้โดยผลิตสื่อและใช้สื่อที่หลากหลายกับเด็กจะทำให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียนรู้


ครั้งที่3 เรื่องขอบข่าย

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  21 พฤศจิกายน พ.. 2556  เวลาเรียน 08.30.- 12.20
เวลาเข้าสอน 08.30.     เวลาเข้าเรียน 08.30.   เวลาออกจากห้องเรียน 12.15.

ความรู้ที่ได้ในวันนี้..
               1. อาจารย์แจกกระดาษโดยให้หยิบไว้1แผ่นแล้วส่งต่อ และให้พับเป็น 8 ช่องและอาจารย์ได้เชื่อมโยงการสอนไปเรื่องอื่นๆที่จะเกี่ยวกับเรื่องรอบๆตัว
    เทคนิคและการสอนของอาจารย์
- เป็นการสอดแทรกการสอนคณิตศาสตร์เพราะสามารถนำไปใช้กับเด็กเรื่องของจำนวน และการนับได้ เช่นการจับคู่กระดาษกับตนเอง 1ต่อ1 หรือให้เด็กนับช่องที่ตนเองพับ เป็นต้น

- ขณะที่ทำกิจวัตรประจำวันสามารถสอดแทรกคณิตศาสตร์ให้กับเด็กได้..บางทีอาจเกิดเหตุการณ์กะทันหันก็อาจจะแทรกเรื่องอื่นๆมาเพิ่มเติมนอกเหนือที่เตรียมไว้เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในตอนนั้นๆ
- การจะสอนเรื่องต่างๆให้กับเด็กจะต้องมีเครื่องมือ เช่น ของจริงหรือสิ่งจำลอง
               2. อาจารย์ให้ทำหนังสือเล่มเล็กแล้วเขียนสาระทางคณิตศาสตร์ว่าในชีวิตประจำวันควรรู้เรื่องอะไรบ้าง?แล้วเพื่อนในห้องร่วมกันอภิปรายว่ามีอันไหนไม่เหมือนกับอาจารย์บ้าง
สิ่งที่ฉันรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
    เทคนิคและการสอนของอาจารย์
- การจะสอนเด็กควรต้องรับฟังความคิดเห็นของเด็กและอย่าไปลดความมั่นใจหรือไปขัดเมื่อเด็กแสดงความคิดเห็นเพราะจะทำให้เด็กบั่นทอนและไม่กล้าแสดงความคิดเห็น
ต้องฟังเด็กให้เด็กระดมความคิดจากประสบการณ์เดิมแล้วค่อยมาอธิบายสิ่งที่ถูกต้องทีหลังเพื่อเพิ่มประสบการณ์ใหม่ๆให้กับเขา (เหมือนที่อาจารย์ยังไม่บอกว่าความคิดใครถูกผิด แต่ยอมรับฟังความคิดเห็นของนักศึกษาทุกคนก่อน)
               3. อาจารย์สอนร้องเพลง

 เพลงสวัสดียามเช้า
              ตื่นเช้าแปรงฟัน ล้างหน้า.. อาบน้ำ แล้วมาแต่งตัว.
                  กินอาหาร..ของดีมีทั่วหนูเตรียมตัว!  จะไปโรงเรียน..   
           สวัสดี...คุณแม่ คุณพ่อ  ไม่รีรอ รีบไปโรงเรียน..
หลั่นล้า หลั่นลา หลั่นหล่า หลั่น ลันลา... หลั่นลา หลั่นล้า.. 

เพลงสวัสดีคุณครู
สวัสดีคุณครูที่รัก      หนูจะ.ตั้งใจอ่านเขียน
ยามเช้าเรามาโรงเรียน(ซ้ำ*)       หนูจะพากเพียรขยันเรียนเอย

เพลงหนึ่งปีมีสิบสองเดือน
หนึ่งปีนั้นมีสิบสองเดือน…  อย่าลืมเลือน..จำไว้ให้มั่น!
หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวันๆ อาทิตย์! จันทร์. อังคาร. พุธ.
         พฤหัส ศุกร์ เสาร์ หลั่นลา..ลันลา
เทคนิคและการสอนของอาจารย์
-จากเพลงสวัสดียามเช้าทำให้เด็กได้รู้จักเวลาและเรียงลำดับเหตุการณ์ซึ่งเพลงเป็นสื่อคณิตศาตร์ตัวหนึ่งที่ใช้ในการสอนเด็กจากเพลงที่มีอยู่แล้วก็สามารถดัดแปลงเนื้อหาให้สนุกและตลกหรือเกี่ยวกับเรื่องต่างๆที่จะสอนเด็กต่อไปได้
        4. อาจารย์แจกกระดาษแล้วเขียนเวลาเรียนว่าตนเองมาถึงมหาวิทยาลัยกี่โมงหลังจากนั้นอาจารย์ถามว่า? (ใครมาเรียนก่อนโมงให้อยู่ทางขวา ใครมาหลัง8โมงให้อยู่ทางซ้าย และใครมาถึง8โมงพอดี..ให้มาอยู่ตรงกลาง)
เทคนิคและการสอนของอาจารย์เรื่องตัวเลขและการตั้งเกณฑ์
- มีเวลา8โมงที่เป็นเกณฑ์ในการแบ่งในครั้งนี้สามารถสอนโยงไปสอนเรื่องเวลาได้
- สอนเรื่องเวลาหรือการเดินของเข็มนาฬิกาได้ อาจจะให้เด็กวาดรูปนาฬิกา
- สอนเรื่องลำดับเหตุการณ์ก่อน-หลังได้
- ให้เด็กนับจำนวนเพื่อนที่มาก่อน พอดี หรือมาหลัง 8 โมงได้และเขียนตัวเลขกำกับแทนจำนวนคน
- ให้เด็กได้เรียนรู้เครื่องหมายแทนด้วยสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์และสอนการเปรียบเทียบได้
        5. อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม4กลุ่ม กลุ่มละ คน  และแจกกระดาษให้กลุ่มละ1แผ่น และสมาชิกทุกคนในกลุ่มจะต้องหยิบสิ่งของอะไรก็ได้มาคนละชิ้น
-สิ่งของที่กลุ่มดิฉันหยิบขึ้นมา คือ ปากกา ไม้บรรทัด ขนม ขวดน้ำ และยางลบ
        กำหนดเกณฑ์ คือรูปทรงที่เป็นทรงกระบอก กับรูปทรงที่ไม่ได้เป็นทรงกระบอก
ที่เป็นทรงกระบอก : ขวดน้ำ ปากกา
ที่ไม่ได้เป็นทรงกระบอก : ขนม ไม้บรรทัด ยางลบ
เทคนิคและการสอนของอาจารย์เรื่องการตั้งเกณฑ์
-เทคนิคนี้เริ่มแต่เรื่องของจำนวนในการแบ่งกลุ่มที่สามรถไปใช้กับเด็กได้รวมไปถึงการแบ่งแยกเกณฑ์ของสิ่งของ
การให้เด็กทำเองทำให้เด็กเห็นเป็นรูปธรรมเด็กจะมีกระบวนการและทักษะทางความคิดและด้านอื่นๆทำให้ได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5ในการเรียนรู้
         6. เรียนเนื้อหาเรื่องขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
มี 8 เรื่องด้วยกันคือ
1. การนับ เป็นเรื่องเกี่ยวกบตัวเลขอับดับแรกที่เด็กจะต้องรู้จักเป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่นการนับเลข1-10หรือมากกว่านั้น
2. ตัวเลข เป็นการให้เด็กได้รู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวันให้เด็กเล่นเกี่ยวกับตัวเลข คิดและนับและคิดเลขเองโดยครูเป็นผู้วางแผนกิจกรรมอาจมีเรื่องของการเปรียบเทียบจำนวนด้วยหรือใช้เพลงที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์สอนเด็ก เช่น 1 2 3 4 5 จับปูมามาได้ห้าตัว.. 6 7 8 9 10 ปูมันหนีบ! ฉันต้องส่ายหัว.. กลัวฉันกลัว ฉันกลัว ปูมันหนีบฉันที่หัวแม่มือ.. ๆ
3. การจับคู่ เป็นการฝึกฝนให้เด็กสังเกตลักษณะต่างๆและจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน
4. การจัดประเภท เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักประเภทลักษณะต่างๆและคิดแยกแยะว่ามีความแตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไร (โดยจะต้องมีเกณฑ์ให้เด็ก)
5. การเปรียบเทียบ เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งหรือมากกว่ารู้จักใช้คำศัพท์ เช่นมากกว่า น้อยกว่า หนักกว่า
6. การจัดลำดับ เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่งๆตามกฎ เช่นจัดบล็อก 5 แท่ง ที่มีความยาวต่างกันและให้เรียงลำดับจากสูงไปต่ำ เป็นต้น
7. รูปทรงและเนื้อที่ ครูจะต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กเรียนรู้กับรูปทรงเรขาคณิตและยังต้องรู้จักความตื้นลึก หนาบางของรูปทรงด้วย
8. การวัด มักจะให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเองรู้จักความยาวและระยะทางรู้จักการประมาณอย่างคร่าวๆซึ่งก่อนที่เด็กจะรู้จักการวัดจะต้องผ่านการฝึกฝนเรื่องการเปรียบเทียบและเรียงลำดับมาก่อน
สิ่งที่ได้จากการเรียนและการนำไปปรับใช้
1. สามารถนำเทคนิคการสอนในหัวข้อต่างๆไปใช้กับเด็กได้จริง
2. ได้รู้เกี่ยวกับสาระทางคณิตศาตร์ว่าควรสอนอะไรให้กับเด็กบ้าง

วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่2 ความหมาย ความสำคัญ แนวคิด ทฤษฎี

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  14 พฤศจิกายน พ.. 2556  เวลาเรียน 08.30.- 12.20
เวลาเข้าสอน 08.30.     เวลาเข้าเรียน 08.30.   เวลาออกจากห้องเรียน 12.15.

ความรู้ที่ได้ในวันนี้..
        1.อาจารย์ให้ดูตัวเลขจำนวนหนึ่งแล้วถามว่านึกถึงอะไร?
350     158     60    50
4915481
เพื่อที่เป็นการนำเข้าบทเรียนและให้นักศึกษาได้ใช้ประสบการณ์เดิมที่เคยได้เห็นตัวเลขและตอบออกมาได้  แว๊บบบบแรกที่เห็นเลข..ดิฉันนึกว่าอาจารย์เอาหวยมาให้ดูทำไม J อิอิ อันนี้คงเป็นประสบการณ์เดิมที่ดิฉันเคยได้เห็นมา ทำให้ต้องใช้การสังเกตและเกิดการคิดทบทวนและคำนึงถึงความน่าจะเป็นไปได้ด้วยค่ะ
เช่น305 อาจจะเป็น เลขห้อง , เลขที่บ้าน ฯลฯ หรือ 158 อาจจะนึกถึงสายรถเมล์ ฯลฯ
แล้วอาจารย์ได้เฉลยว่าเป็นเลขที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของอาจารย์ มีทั้งบ้านเลขที่ ส่วนสูง น้ำหนัก อายุ และเบอร์โทรศัพท์
        2. ต่อมาอาจารย์ได้สอนความหมาย ความสำคัญ และแนวทางในการส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์โดยสรุปได้ดังต่อไปนี้
คณิตศาสตร์  หมายถึง วิชาที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ มีการนับ คำนวณ การประมาณและเกี่ยวข้องกับตัวเลขซึ่งมีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของมนุษย์ดังนั้นเด็กปฐมวัยจะต้องมีพื้นฐานทางคณิตศาสตร์แบบง่ายๆก่อนที่จะเรียนรู้คณิตศาสตร์ในเรื่องอื่นๆที่ถูกต้องต่อไป
ความสำคัญของคณิตศาสตร์ มีความสำคัญกับเด็กเพราะเป็นพื้นฐานให้เด็กได้รู้จักแก้ปัญหารู้จักการคำนวณและอื่นๆและเมื่อเด็กมีทักษะทางคณิตศาสตร์บ้างแล้วก็จะทำให้เขาพร้อมที่จะเรียนรู้ และคณิตศาสตร์พื้นฐานที่เด็กควรจะรู้ก็ควรจะเป็นเรื่องใกล้ตัวเด็ก เช่นสิ่งของรอบๆตัวสามารถสอนให้เด็กได้รู้จักการแยกขนาด สังเกต-เปรียบเทียบจำนวน รู้จักสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์เริ่มต้นจากง่ายไปหายาก สามารถใช้ภาษาเกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง จะทำให้เด็กได้สังเกตและคิด เมื่อเด็กเกิดความสงสัยก็จะถามมากๆก็จะทำให้เกิดทักษะ
แนวทางในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
1. ศึกษาและทำความเข้าใจหลักสูตรเพื่อให้ทราบวัตถุประสงค์ขอบข่ายเนื้อหา วิธีการสอน วิธีจัดกิจกรรม การใช้สื่อ การประเมินผล เพื่อจะได้เป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อมด้านคณิตศาสตร์และนำไปพัฒนาเด็กได้อย่างถูกต้อง
2. ศึกษาพัฒนาการด้านต่างๆความต้องการซึ่งเป็นพัฒนาการของเด็กและความสามรถของเด็กเพื่อจะได้จัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับพัฒนาการความต้องการความสนใจและความสามารถของเด็ก
3. จัดหาสื่อการเรียนที่เด็กจับต้องได้ให้เพียงพอโดยใช้ของจริง ของจำลองหรือรูปภาพ จากสิ่งแวดล้อมจากสิ่งที่เด็กคุ้นเคย สื่อที่ใช้แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ วัสดที่ทำขึ้นเอง วัสดุถูก วัสดุเหลือใช้และวัสดุท้องถิ่น
4. จัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับประสบการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็ก (ต้องให้เด็กทำซ้ำๆและมีผลนำไปใช้ได้)
5. เปิดโอกาสให้เด็กได้มีส่วนร่วมลงมือกระทำใช้ความสามารถอย่างเต็มที่โดยมีครูดูแลและคอยอำนวยความสะดวกให้เด็ก
6. จัดประสบการณ์ให้เด็กคิดแก้ปัญหาใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการค้นคว้าหาเหตุผล
7. จัดกิจกรรมโดยคำนึงถึงความแตกต่างของเด็กว่าแต่ละคนไม่เหมือนกัน
8. สร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและบ้านเพื่อให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการเตรียมความพร้อมด้านคณิตศาสตร์ของเด็ก
9. จัดสภาพแวดล้อมทั้งในและนอกห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์
        3. อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม5-6คน แล้วแจกกระดาษให้คนละ1ใบ พร้อมกับใบงานให้ศึกษาค้นคว้ากลุ่มดิฉันได้เรื่องการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย เมื่อเสร็จให้สรุปความคิดเป็นของกลุ่มอีก1 แผ่น
-  สรุปความคิดในกระดาษของตนเอง
รวมกันนำความคิดที่ได้มาอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันแล้วสรุปลงในกระดาษของกลุ่ม

แผนผังความคิดจากการระดมความคิดภายในกลุ่ม
        4. อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มสับเปลี่ยนความคิดเห็นกันและให้มี1คนนั่งอยู่ในกลุ่มไว้คอยอธิบายเพื่อนต่างกลุ่มที่เดินเขามา และสมาชิกที่เหลือเดินเวียนไปกลุ่มต่างๆ

- นำความรู้ที่ได้จากแต่ละกลุ่มมาสรุปให้เพื่อนกลุ่มตนเองที่นั่งอยู่เป็นเจ้าบ้าน

        สิ่งที่ได้จากการเรียนและการนำไปปรับใช้
1. ทำให้รู้ความหมายและความสำคัญของคณิตศาสตร์และรู้ว่าจะสอนเด็กเรื่องคณิตศาสตร์ก็สามารถสอนได้จากเรื่องใกล้ตัวของเขาโดยต้องรู้จักเชื่อมโยงให้สัมพันธ์กัน
2. ทำให้ต้องกลับไปศึกษาหลักสูตรและทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการจัดประสบการณ์ต่างๆให้มากยิ่งขึ้น
3. จากการทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม ทำให้ต้องฝึกการพูดให้มากขึ้นและทำงานให้เร็วขึ้น
4. ได้แลกเปลี่ยนความคิดและได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆที่บางครั้งเราอาจคิดไม่ถึงหรือไม่ใจ
5. ทำให้เรียนรู้ที่จะช่วยเหลือกันในการทำงานเป็นกลุ่ม
6. ทำให้รู้จักยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
7. ทำให้มีความเข้าใจมากขึ้นเมื่อรู้จักใช้ Mind Map สรุปความคิดเห็น