... Wellcome To blogspot Arisara Phusit...

วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สรุปงานวิจัย

ศึกษางานวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

บทที่1
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุงหมาย เพื่อการศึกษาการพัฒนาทักษะพื้นฐานทาง คณิตศาสตรสําหรับเด็กปฐมวัยที่ไดรับการจัดกิจกรรมศิลปะสรางสรรคเพื่อการเรียนรู โดยใช้เด็กชาย หญิง อายุ 56 ป กําลังศึกษาอยูในชั้น อนุบาลศึกษาปที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปการศึกษา 2549 โรงเรียนสาธิตอนุบาลละอออุทิศ กรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตโดยสุมตัวอย่างมา จํานวน 15 คน เพื่อรับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนรูปแบบศิลปะสรางสรรคเพื่อการ เรียนรูเปนระยะเวลา 8 สัปดาห์  ซึ่งเล็งเห็นความสำคัญต่อการให้การศึกษา เพราะการศึกษาคือการพัฒนาให้คนมีความรู้ที่สามารถสร้างตนให้มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมรวมถึงการสร้างชาติให้อรุ่งเรืองได้ ซึ่งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ควรต้องเริ่มต้นตั้งแต่ปฐมวัย นั้นศิลปะยังเป็นกิจกรรมที่เพลิดเพลินที่กระตุ้นการเรียนรู้ทักษะคณิตศาสตร์เป็นทักษะที่แทรกอยู่ได้ทุกกิจกรรมศิลปะ เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กได้สำรวจค้นคว้า เปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้ความคิดริเริ่มและจินตนาการ อันจะส่งผลให้เด็กมีคุณลักษณะที่สำคัญ ได้แก่ ความเป็นเหตุเป็นผล รู้จักการสังเกต ทั้งนี้กิจกรรมศิลปะจะช่วยให้เด็กรู้จักสังเกตสิ่งรอบๆ ตัว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสี รูปทรง รูปร่าง พื้นผิว พื้นที่ว่าง น้ำหนัก อ่อน แก่ของสี การที่เด็กได้วาดภาพซักภาพก็เป็นสิ่งที่ทำให้ทราบว่า เขาได้เรียนรู้แล้วมีประสบการณ์ต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัวในระดับใด เป็น การเรียนรู้จากการใช้ความรู้สึกสัมผัสอย่างแท้จริง พบว่าสามารถจัดศิลปะเพื่อการเรียนรู้ได้ จำแนกเป็น 6 รูปแบบ ดังนี้
1. ศิลปะย้ำ เรียกว่า การย้ำการเรียนรู้ด้วยศิลปะ
2. ศิลปะถ่ายโยง เรียกว่า ถ่ายทอดการเรียนรู้เป็นศิลปะ
3. ศิลปะปรับภาพ เรียกว่า ปรับภาพการเรียนรู้เป็นงานศิลปะ
4. ศิลปะเปลี่ยนแบบ เรียกว่า เปลี่ยนสิ่งเรียนรู้สู่งานศิลปะ
5. ศิลปะบูรณาการ เรียกว่า บูรณาการเรียนรู้ที่สู่ศิลปะ
6. ศิลปะค้นหา เรียกว่า ค้นหาความรู้จากศิลปะ
ดังนั้นผู้วิจัยจึงเห็นว่าควรนำไปทดลองใช้เพื่อศึกษาดูว่าเด็ก สามารถพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้จริงหรือไม่ และผลการวิจัยที่ได้รับ การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้เป็นอย่างไร จะเป็นแนวทางของการใช้นวัตกรรมเพื่อ การจัดการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัยมาใช้ ในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็ก ปฐมวัยหรืออาจนำไปประยุกต์ในกับการพัฒนาทักษะอื่นๆ สำหรับเด็กปฐมวัยต่อไป
ความมุ่งหมายของการวิจัย
เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัด
กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
ตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรอิสระ ได้แก่ รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 5 ด้าน ดังนี้
2.1. การบอกตำแหนง
2.2. การจำแนก
2.3. การนับปากเปล่า 1 – 30
2.4. การรู้ค่ารู้จำนวน 1 –20
2.5. การเพิ่ม ลด ภายในจำนวน 1 – 10
บทที่2
1. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
ความหมายของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
สรุปได้ว่า ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของ เด็กปฐมวัย หมายถึง ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวกับ การสังเกต การจำแนก การเปรียบเทียบ การเรียนรู้สัญลักษณ์ของคณิตศาสตร์เพื่อให้โอกาสเด็กได้สร้างความรู้และทักษะ เพื่อปลูกฝังให้เด็กรู้จักค้นคว้าแก้ปัญหาเป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาที่สูงขึ้น และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
ความสำคัญของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
คณิตศาสตร์เป็นสิ่งสำคัญที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ศาสตร์อื่นๆ การได้รับประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ทำให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุมีผลและใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆได้อย่างดี ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งเพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ต่อไป
จุดมุ่งหมายในการเตรียมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
การเตรียมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในระดับเด็กปฐมวัยเป็นการเตรียมเด็กให้พร้อมที่จะเรียนรู้คณิตศาสตร์ในระดับต่อไป และมีความสามารถในการใช้เหตุผลในการเปรียบเทียบมีทักษะในการแก้ปัญหาเพื่อให้เกิดความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนคณิตศาสตร์ และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
จากทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยดังกล่าวสรุปได้ว่าหลักสำคัญอยู่ที่กระบวน
ความคิดและการพัฒนาความสามารถด้านต่างๆ ตั้งแต่การรู้ค่าจำนวน การจัด หมวดหมู่ การจำแนกเปรียบเทียบ การเรียงลำดับ และการหาความสัมพันธ์ซึ่งสิ่งเหล่านี้เด็กจะ เรียนรู้ได้จากประสบการณ์ตรงที่เด็กได้ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบตัว ในชีวิตประจำวัน หรือ การจัดกิจกรรมของครูแต่ในการจัดกิจกรรมจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กเพื่อที่เด็กจะได้พัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพ
หลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
สรุปได้ว่า หลักการสอน คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ต้องเน้นเด็กเป็นสำคัญ ครูต้องคำนึงถึงจุดประสงค์ในการจัด กิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจอย่างถองแท้และสามารถบูรณาการ ให้เข้ากับกิจกรรมอื่น ๆ ได้และเรียนรู้อย่างมีความสุข
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่เด็กปฐมวัยต้องเรียน
สาระทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้นควรเน้นให้เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง จากเรื่องง่ายไปยาก จากรูปธรรมไปนามธรรมเด็กได้มีโอกาสสังเกต สัมผัส ทดลอง สำรวจ ค้นคว้า และแก้ปัญหา จากสภาพแวดล้อมในห้องเรียนและนอกห้องเรียน เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความสุขและเป็นการขยายประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยมีครูเป็นผู้จัดกิจกรรมและคอยสังเกตดูแลให้ความช่วยเหลือเด็ก จัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับวัยความสามารถและความแตกต่างระหว่างเด็กแต่ละคน ซึ่งหากเด็กในวัยนี้ได้รับการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เป็นอย่างดีย่อมเป็นรากฐานของการเรียนรู้และเข้าใจที่ดีต่อคณิตศาสตร์ในระดับสูงต่อไป
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เป็นทักษะในการเรียนรู้คณิตศาสตร์เบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้กับเด็กในระดับปฐมวัยเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะฝึกให้เด็กมีทักษะเกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่ การจำแนกเปรียบเทียบ การจัดลำดับและการรู้ค่าตัวเลขซึ่งมีการจัดประสบการณ์ได้หลายรูปแบบ เช่นการจัดประสบการณ์ผ่านการเล่น หรือกิจกรรมที่หลากหลาย หรือจัดสอดแทรกตามมุมกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยให้เด็กเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้อย่างมีความมีสุข ด้วย หลักการดังกล่าว ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
2. เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวกับกิจกรรมศิลปะ
จากความหมายศิลปะดังกล่าวสรุปได้ว่า ศิลปะ หมายถึง การแสดงออกโดยผ่านสื่อ ผลงานซึ่งเป็นการสื่อสารความคิด ความรู้สึกต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้รับการถ่ายทอดจากประสบการณ์ และจินตนาการณ์ของแต่ละคน อิสระในการแสดงออกทางผลงานซึ่งเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ออกมาเป็นผลงาน
การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
สรุปได้ว่าศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย ควรคำนึงความเหมาะสมกับพัฒนาการและความต้องการของเด็ก ในเด็กปฐมวัยควรมีกิจกรรมที่หลากหลายมีสื่อวัสดุอุปกรณ์ที่หลากหลาย มีทั้งการจัดกิจกรรมแบบ 2 มิติ และ 3 มิติจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้สำรวจค้นพบ และทดลอง และ การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็ก มีกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น กิจกรรมศิลปะประเภทใช้สีน้ำ การระบายสี การพิมพ์สี ด้วยวัสดุที่แตกต่างกันจะช่วยสร้างผลงานที่แตกต่างกันด้วยซึ่งการเลือกกิจกรรมให้เหมาะสมกับวัยชองเด็กเป็นสำคัญ งานกระดาษ ฉีกปะ แปะติด ตัด และงานประดิษฐ์ผลงานจากเศษวัสดุ เช่น โฟม เป็นต้น กิจกรรมจะช่วยพัฒนาการด้าน ต่างๆ ของเด็กให้เป็นไปตามวัย
บทบาทของครูศิลปะปฐมวัย
สรุปได้ว่า บทบาทของครูศิลปะปฐมวัย ครูควรทดลองทำกิจกรรมเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนจัดกิจกรรม และควรจัดกิจกรรมให้น่าสนใจมีอุปกรณ์ที่หลากหลาย และจัดเตรียมอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับวัยและกิจกรรม โอกาสให้เด็กทำงานศิลปะอย่างอิสระ แต่ครูจะต้องคอยให้คำแนะนำหรือชี้แนะเมื่อเด็กต้องการความช่วยเหลือ ในการสาธิตกิจกรรมครูควรในคำอธิบาลที่ง่ายแก่การเข้าใจ และไม่ควรวิจารณ์งานของเด็ก แต่ควรให้กำลังใจ
บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
1.1ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เป็นนักเรียนชาย หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี ซึ่งเรียนอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนสาธิตอนุบาลละอออุทิศ กรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จำนวน 10 ห้องเรียน
1.2การเลือกกลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียนชาย หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี ซึ่งอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนสาธิตอนุบาลละออ อุทิศ กรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ซึ่งได้จากการจับฉลากมา 1 ห้องเรียน และได้รับการประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้แบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
2. การสร้างเครื่องมือที่ใช้การวิจัย
2.1 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าได้แก่
2.1.1 แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
2.1.2 แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การสร้างแผนการจัดกิจกรรม
2.2 การสร้างแผนการจัดกิจกรรม
2.2.1 ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้จาก
งานวิจัยของ ดร. กุลยา ตันติผลาชีวะ (2004)
2.2.2 ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
2.2.3 ศึกษาหลักสูตรและคู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546
2.2.4 ศึกษาแผนการจัดประสบการณ์ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ของโรงเรียนสาธิตอนุบาล
ละอออุทิศสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
2.2.5 กำหนดเนื้อหาการเรียนรู้จากประสบการณ์ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ คือกำหนดสาระการเรียนรู้และเนื้อหาการเรียนรู้จากประสบการณ์ และเรียงลำดับความยาก ง่าย โดยคำนึงถึงประสบการณ์และพัฒนาการของเด็กและพัฒนาทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ในการวิจัยได้กำหนดเนื้อหาการเรียนรู้เป็น 8 หน่วยการเรียน ได้แก่ รถยนต์ต้นไม้ น้ำ สัตว์ ดิน อาหาร เงิน และขยะ โดยในแต่ละหน่วยการเรียนกำหนดเป็นสัปดาห์ละ 3 เรื่อง
2.2.6 การเลือกใช้ศิลปะให้สอดคล้องกับสาระ ผู้วิจัยกำหนดไว้ดังนี้
1) ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้จาก งานวิจัยของ ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะ (2004) จากทั้งหมด 6 รูปแบบ ดังนี้ ศิลปะย้ำ ศิลปะปรับ ภาพ ศิลปะถ่ายโยง ศิลปะเปลี่ยนแบบ ศิลปะบูรณาการ และศิลปะค้าหา ผู้วิจัยได้คัดเลือก รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ เพื่อให้เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเด็กอายุ 5 – 6 ปี
2) การสร้างกรอบแผนการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในแต่ละหน่วยการเรียนโดยกำหนดเป็นสัปดาห์ละ 3 เรื่อง และเน้นทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์วันละ 1 เรื่อง เป็นทักษะหลักที่สัมพันธ์กับการจัดกิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์ และหมุนเวียนการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ตลอดการทดลองให้เท่ากัน
3) หลักการใช้รูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ ผู้วิจัยจำต้องกำหนด รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ในแต่ละสัปดาห์ ให้มีรูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ ทั้ง3กิจกรรมและเลือกใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้วันละ 1 กิจกรรม ให้สัมพันธ์กับสาระการเรียนรู้และทักษะพื้นฐานทางคณิตสตร์ โดยการคัดเลือกกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ให้เป็นรูปแบบใดนั้น ขึ้นอยู่กับแผนการจัดกิจกรรมของผู้วิจัย ซึ่งจะต้องมีความ เหมาะสมกับรูปแบบและขั้นตอนของศิลปะแต่ละรูปแบบ โดยลักษณะของการนำไปใช้ ดังนี้ เช่น
 ศิลปะเปลี่ยนแบบ คือ การเปลี่ยนสิ่งที่เด็กเรียนรู้มาสร้างเป็นงานศิลปะด้วยการเปลี่ยนรูปแบบและเลือกใช้ในการสร้างผลงาน ศิลปะบูรณาการ คือการนำความรู้ที่เกี่ยวข้องมาบูรณาการเป็นภาพการปั้น หรือสิ่งประดิษฐ์ และค้นหา คือ การหาความรู้ด้วยการเรียนรู้จากภาพศิลปะ หรือผลงาน ศิลปะมาให้เด็กค้นหาและศึกษาอย่างมีจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ชัดเจน 
ในการจัดรูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มี 5 ขั้น คือ
4.1 ขั้นเตรียมความพร้อม
- ครูนำเข้าสู่บทเรียน
- ครูบอกจุดประสงค์การเรียนรู้
4.2 ขั้นสะท้อนความคิด
- ครูถามคำถามเพื่อกระตุ้นให้เด็ก บอก เล่า อธิบาย หรืออภิปรายสิ่งที่กระทำโดยสัมพันธ์กับข้อความรู้ที่เรียน
- ครูให้เด็กตรวจสอบทบทวนความรู้ความเข้าใจจากงานศิลปะที่ทำ
4.3 ขั้นสรุป
- ครูกับเด็กสรุปสิ่งที่เรียนรู้
4.4 เตรียมสื่ออุปกรณ์
4.5 กำหนดแนวการประเมินภาพการสอน
2.3 การหาคุณภาพแผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เป็นสื่อการเรียนรู้
ให้อาจารย์ผู้สอนในระดับศึกษาปฐมวัย จำนวน 3 ท่าน ที่สำเร็จ การศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป มีประสบการณ์สอนอย่างน้อย 5 ปี ตรวจสอบจากนั้นนำมาปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำและนำแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยไปตรวจสอบความยากง่ายทางสถิติ
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล เป็น 3 ตอน ดังนี้
1. เปรียบเทียบการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยรวม 5 ทักษะ ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
2. เปรียบเทียบการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย จำแนกรายทักษะ ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
3. วิเคราะห์ระดับการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยรวม 5 ทักษะ และจำแนกรายทักษะ ก่อนและหลังการทดลอง
สรุปได้ว่า หลังจากได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้เด็ก ปฐมวัยมีการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ แตกต่างจากก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .01 และมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น
สรุปหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้เด็ก ปฐมวัยมีการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ คือ ทักษะการบอกตำแหน่ง ทักษะการจำแนก ทักษะการนับปากเปล่า 1 – 30 ทักษะการรู้ค่ารู้จำนวน และทักษะการเพิ่ม ลด 1 – 10 แตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 และทุกทักษะมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น
จากความเห็นเบื้องต้น เด็กปฐมวัยกลุ่มคะแนนสูงที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ มีระดับความสามารถทางทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ จำแนกรายทักษะทั้ง 5 ทักษะ ก่อนการทดลองอยู่ในระดับดีแต่หลังจากการได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ อยู่ในระดับ ดีมาก และมีคะแนนนัยทางสถิติเพิ่มขึ้นแสดงให้เห็นว่าการจัดกิจกรรมหลังการทดลองโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก
บทที่ 5
สรุปอภิปรายผล และ ข้อเสนอแนะ
ในการวิจัยครั้งนี้ทดลองเพื่อมุ่งศึกษาการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ เพื่อเป็นแนวทางให้ครูและ ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัยได้ประโยชน์ ในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ให้แก่เด็กอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กต่อไป
สรุปผลการวิจัย
1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์มีคะแนนเฉลี่ย ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ โดยรวม 5 ทักษะและจำแนกรายทักษะ คือ ทักษะการบอกตำแหน่ง ทักษะการจำแนก ทักษะการนับ 1 – 30 ทักษะการรู้ค่ารู้จำนวน และทักษะการเพิ่ม ลด ภายในจำนวน 1 – 10 อยู่ในระดับดี แตกต่างจากก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น
2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ มีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในทุกทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น
ข้อสังเกตการวิจัย
1. ในการจัดการเรียนการสอนกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ ครูจำเป็นต้องปฏิบัติตามแผนการจัดกิจกรรม
2. สื่อการเรียนการสอนต้องมีจำนวนเพียงพอกับจำนวนเด็ก
3. ในการทำกิจกรรมขั้นนำเข้าสู่งานศิลปะในช่วงแรก ๆ เด็กยังไม่เข้าใจรูปแบบการทำศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ จึงต้องแนะนำ และสาธิตวิธีการทำศิลปะก่อน
4. ในการถามคำถามให้เด็กคิด ครูควรกระตุ้นให้เด็กที่ไม่กล้าแสดงความคิดได้แสดงความคิดเห็นอาจจะเป็นการตั้งปฏิบัติในการนำเสนองานกลุ่ม คือ ผู้ที่ออกมานำเสนอต้องไม่ซ้ำและหมุนเวียนจนครบทุกคน
5. หลังจากการเรียนรู้ขั้นสรุปสาระสำคัญที่เรียนรู้ ครูควรกระตุ้นให้เด็กได้แสดงความคิดเห็น และร่วมกันสรุปเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนรู้รวมกันเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ไปในทิศทางเดียวกัน และเป็นการสร้างความคิดรวบยอดรวมกัน
6. การจัดการเรียนการสอนที่ดีควรให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กัน เด็กควรทำกิจกรรมกลุ่มกลุ่มละ 2 – 5 คนเหมาะสมที่สุดเพราะเด็กจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยเฉพาะการทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ในรูปแบบศิลปะทั้ง 3 รูปแบบ คือ ศิลปะบูรณาการ ศิลปะเปลี่ยนแบบและศิลปะค้นหาสามารถทำรวมกันได้
ข้อเสนอแนะในการทำวิจัย
1. ควรมีการศึกษาการนำกิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ ในรูปแบบอื่นมาจัดกิจกรรมให้เด็กเพื่อพัฒนาทักษะต่าง ๆ วิทยาศาสตร์ สังคม ภาษาไทย ฯลฯ ที่แตกต่างกันไปตามรูปแบบการเรียนรู้ เช่น ศิลปะย้ำ ศิลปะปรับภาพ ศิลปะถ่ายโยง ศิลปะเปลี่ยนแบบศิลปะบูรณาการ และศิลปะค้นหา เพื่อศึกษาความแตกต่าง
2. ควรมีการนำรูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ มาจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กหญิงและเด็กชาย เพื่อหาความแตกต่างในการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะแบบเดียวกัน
3. ควรมีการศึกษาความแตกต่างในการทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ระหว่างสื่อของจริงและสื่อจำลอง และเปรียบเทียบความภูมิใจของเด็กในตนเองของเด็กปฐมวัยในการทำศิลปะเพื่อการเรียนรู้
4. ควรศึกษาเปรียบเทียบระหว่างรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้แต่ละรูปแบบว่าแบบใดพัฒนาทักษะได้มากกว่ากัน
5. ควรศึกษาเปรียบเทียบการจัดกิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้แบบกลุ่ม และรายบุคคล ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร

วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่10

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 9 มกราคม พ.. 2557  เวลาเรียน 08.30.- 12.20
เวลาเข้าสอน 08.35    เวลาเข้าเรียน 08.25  เวลาออกจากห้องเรียน 11.30 น.



วันจันทร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่9การบูรณาการคณิตศาสตร์

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 2 มกราคม พ.. 2557  เวลาเรียน 08.30.- 12.20
เวลาเข้าสอน 08.35    เวลาเข้าเรียน 08.30  เวลาออกจากห้องเรียน 11.30 น.


อาจารย์ได้พูดถึงรูปแบบการจัดกิจกรรมหลักทั้ง6กิจกรรม ซึ่งเปรียบเสมือนท่อน้ำจากแหล่งน้ำบ่อใหญ่ ทั้ง6ท่อนี้หมายถึงตัวที่ไปหล่อเลี้ยงเด็กๆมีเป้าหมายเพื่อจะได้พัฒนาเด็กทุกๆด้านให้เป็นไปตามมาตรฐานจุดมุ่งหมายผ่านกิจกรรมหลักในหลักสูตรของการศึกษาปฐมวัย

        การบูรณาการคณิตศาสตร์กับการเคลื่อนไหว
-เด็กได้นับจังหวะเพิ่มจำนวนมากขึ้นหรือน้อยลง
-การใช้สัญลักษณ์เช่นทำมือเป็นรูปทรงเป็นสัญญาณให้หยุด
-มีการกำหนดข้อตกลงโดยฟังจังหวะเช่นเคาะ1ครั้งให้เดิน1ก้าว
-การเคลื่อนที่แบบมีทิศทาง ใกล้ ไกล ระยะต่างๆ
-เวลาที่ใช้ให้สัมพันธ์กับการเคลื่อนที่ เร็ว..ช้า เป็นต้น
-การหาพื้นที่ให้กับตนเอง ยึดตัว กางขา กางแขน
-มีรูปทรงให้เด็กเคลื่อนไหวไปหยิบใครได้แบบเดียวกันให้จับกลุ่มเดียวกัน
-เคลื่อนไหวโดยใช้อุปกรณ์ที่ถืออยู่แตะสัมผัสให้เป็นรูปต่างๆ
         การบูรณาการคณิตศาสตร์กับศิลปะสร้างสรรค์
-เด็กถ่ายทอดผลงานโดยการวาดภาพและนับสิ่งต่างๆในนั้น
-ปั้นแป้งโดเป็นรูปทรงต่างๆ
- ใช้วัสดุเหลือใช้สร้างสรรค์ตามจินตนาการและนับจำนวนสิ่งของ
-ต่อเติมอุปกรณ์ที่มีอยู่ให้เป็นทางยาวและสามารถวัดระยะได้
         การบูรณาการคณิตศาสตร์กับการเล่นเสรี
-มุมบล็อก มีไม้รูปทรงต่างๆและมีวัสดุอื่นๆมาใส่ไว้ให้เด็กเติมความสมบูรณ์ให้กับตัวบล็อก เช่น มีกล่องใส่ฝาขวดน้ำ ผ้าปู หลอดด้ายเหลือใช้ เด็กจะเรียนรู้การจัดตำแหน่งทิศทาง
- มุมภาษา มีหนังสือนิทานเรื่องที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์หรือบนชั้นวางหนังสือติดเลขกำกับหนังสือแต่ละเล่มด้วย
- มุมเกมการศึกษา เกมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ จับคู่ เรียงลำดับ บวกลบจำนวน จัดหมวดหมู่ เกมล็อตโต้ โดมิโนตัวเลข เกมศึกษารายละเอียดภาพ 
- มุมร้านค้า มีการซื้อขายแลกเปลี่ยน มีธนบัตรหรือเหรียญ รวมทั้งติดราคาสินค้าไว้ด้วย มีที่ชั่ง ตวง เป็นต้น
- มุมบ้าน มีเครื่องใช้ภายในบ้านของใช้แต่งตัวต่างๆ
- มุมครัว มีของใช้ให้เด็กได้จัดหมวดหมู่ เช่น ช้อน ส้อม เรียงจานขนาดต่างๆ ติดเลขที่ตะกร้าหรือชั้นเก็บของเมื่อเด็กเล่นเสร็จจะได้รู้ว่าของมีทั้งหมดกี่ชิ้น
- มุมหมอ มีอุปกรณ์หมอให้เด็กได้เรียนรู้การดำเนินชีวิตอาชีพหมอ
- มุมของเล่นประสาทสัมผัส มีตัวต่อเลโก้ หรือจิกซอล์
         การบูรณาการคณิตศาสตร์กับการเล่นกลางแจ้ง
เกมกลางแจ้งมี3ชนิด
1.เกมเบล็ดเตล็ต ไม่มีกติกามากมาย เล่นสนุกทั่วไป
2. เกมผลัด ผลัดกันเล่น มีกติกามากขึ้น ทุกคนจะได้เล่นเหมือนกันซ้ำกันจะมีจุดชนะชัดเจน
3.เกมการใช้สัมพันธ์กับทักษะการกีฬา
- การไต่เชือก สามรถรู้รูปทรง คาดคะเนระยะเชือกกับการก้าว กำหนดทิศทางได้ และสามารถนับเชือกพร้อมกับการก้าวไต่
-การเล่นชิงช้า การแกว่งสูง ช้า เร็ว
-การเล่นหม้าหมุน นับจำนวนรอบที่หมุนได้
        ประโยชน์ที่ได้รับและการประยุกต์ใช้
1.การสอนคณิตศาสตร์สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่และอยู่ในทุกรูปแบบและทุกกิจกรรม
2.การเป็นครูจะต้องรู้จักคิดเป็นกระบวนการและหลากหลาย
3.การสอนสิ่งต่างๆให้เด็กสามรถบูรณาการทุกอย่างรวมกันได้เพราะเด็กสามรถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
4.การสอนเด็กจะต้องมีสื่อและการทำสื่อไม่จำเป็นต้องทำของแพงสามารถนำวัสดุเหลือใช้มาทำได้

ประเมินตนเอง : มีปฏิสัมพันธ์กล้าพูดคุยโต้ตอบแสดงความคิดเห็นกับอาจารย์
ประเมนเพื่อน : เพื่อนๆสนใจฟังมีการเก็บภาพสื่อที่น่าสนใจ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีการบอกเล่าประสบการณ์เมื่อครั้งบรรจุใหม่ๆทำให้นักศึกษาให้ความสำคัญกับวัสดุเหลือใช้ต่างๆและมีไอเดียในการผลิตสื่อ



ครั้งที่8 ไม่มีการเรียนการสอน

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 26 ธันวาคม พ.. 2556  เวลาเรียน 08.30.- 12.20
เวลาเข้าสอน -     เวลาเข้าเรียน -   เวลาออกจากห้องเรียน -

หมายเหตุ: ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากมีการจัดงานกีฬาบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยและอาจารย์ให้หยุดในวันสิ้นปี

ครั้งที่7 สอบกลางภาค

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 19 ธันวาคม พ.. 2556  เวลาเรียน 08.30.- 12.20
เวลาเข้าสอน -     เวลาเข้าเรียน -   เวลาออกจากห้องเรียน -
หมายเหตุ: ทางมหาวิทยาลัยมีกำหนดสอบกลางภาค เริ่มตั้งแต่วันที่ 19 ธค. ถึง 25 ธค. 2556
โชคดีในการสอบAAAAA

วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่6 ทบทวนสาระคณิตศาสตร์

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 12 ธันวาคม พ.. 2556  เวลาเรียน 08.30.- 12.20
เวลาเข้าสอน 08.30.     เวลาเข้าเรียน 08.30.   เวลาออกจากห้องเรียน 12.15.
ความรู้ที่ได้ในวันนี้..
-อาจารย์ได้กล่าวว่านักศึกษาควรมีทักษะต่างๆในการเชื่อมโยงความคิดและนำเสนอควรมีทักษะต่างๆในการเชื่อมโยงความคิดและนำเสนอออกมาตาม TQF หรือ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ นั่นเองซึ่งมีอยู่ 5 ด้าน ที่นักศึกษาจะต้องบรรลุตามวัตถุประสงค์
1.ด้านคุณธรรมจริยธรรม
2.ด้านความรู้
3.ด้านทักษะทางปัญญา
4.ด้านความสัมพันธ์ต่อผู้อื่นและความรับผิดชอบ
5.ด้านทักษะการวิเคราะห์และรอบรู้การใช้เทคโนโลยีต่างๆ
-สาระทางคณิตศาสตร์สาระที่เรื่องการวัด หาค่าและปริมาณ
ตัวอย่างที่สามารถสอนให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ในกิจวัตรประจำวันได้
ใบลงเวลามาเรียนเหมาะกับอนุบาล3

 ใบลงเวลามาเรียนแบบนี้อาจจะช้าเพราะเด็กต้องรอเขียนต่อกัน
ถ้าใช้กับเด็กเล็กที่เขียนยังไม่ได้ อาจต้องมีสื่อเพื่อให้เด็กเห็นเป็นรูปธรรมสามารถนำปฎิทินเก่าๆมาทำนาฬิกาของเล่น มีเข็ม ตามหน้าปฏิทินตามเวลาและเขียนตัวเลขกำกับไว้ และให้เด็กได้ดูเวลาจริงมาเทียบกับปฏิทินเวลาที่มีอยู่
มีปฏิทินให้เด็กได้เขียนตัวเลขหรือติดสติกเกอร์นับวันในแต่ละวัน
-สาระคณิตศาสตร์สาระที่3 เรื่องรูปทรงและเรขาคณิต
อาจารย์แจกอุปกรณ์ ไม้ลูกชิ้นและดินน้ำมันคนละ1ก้อนให้ทำรูปทรงต่างๆตามคำสั่งเป็นกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์บูรณาการเข้ากับวิชาคณิตศาสตร์ซึ่งสามารถนำไปใช้กับเด็กปฐมวัยได้


ประโยชน์ที่ได้รับและเทคนิคการสอน
-   ให้เด็กทำบ่อยๆกับสิ่งที่เห็นจริงและจับต้องได้
-   ค่อยเพิ่มเติมสิ่งใหม่ๆอยู่เสมอเริ่มให้เด็กมีประสบการณ์จากสิ่งง่ายๆไปยาก
-    พัฒนาความรู้เดิมกับสิ่งใหม่ๆที่เด็กเรียนรู้ให้เชื่อมโยงกัน
-    สิ่งที่ให้เด็กเรียนรู้ควรเป็นสิ่งที่เด็กได้เรียนรู้โดยใช้ประสาทสัมผัสเช่นประยุกต์ใช้กับกิจกรรมศิลปะ ให้เด็กได้เห็นเป็นรูปร่างรูปทรงโดยผลิตสื่อ
        ประเมินหลังเรียน
- ประเมินตนเอง  สนุกสนใจกับกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำซึ่งสามรถนำไปใช้กับเด็กได้ในชีวิตจริงและเกิดไอเดียใหม่ๆทำให้คิดริเริ่มสร้างสรรค์มองการไกลกับสิ่งที่ไม่เคยคิดว่าจะนำมาใช้ได้ สามารถต่อยอดและคิดที่จะนำวัสดุเหลือใช้มาผลิตสื่อ
-  ประเมินเพื่อน   เพื่อนๆให้ความร่วมมือสามารถคิดทำรูปทรงต่างๆได้บางคนก็ทำแตกต่างทำให้เห็นมิติใหม่ๆ
-  ประเมินอาจารย์  อาจารย์มีการเตรียมวัสดุอุปกรณ์เตรียมเนื้อหาที่จะนำมาสอน มีการอธิบาย และยกตัวอย่างให้เห็นได้ชัดเจนได้นำสื่อต่างๆมาให้ดูและบอกเทคนิคเพิ่มเติมซึ่งสื่อ1ชิ้นควรสามารถสอนให้ได้หลายๆอย่าง